แนะนำเพื่อน

บอก WEB นี้ให้เพื่อน :

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การพิมพ์ Silk Screen



โรงพิมพ์ของเรา เป็นโรงงานผลิตเสื้อที่มีกำลังการผลิตสูงสุด 8000 ตัว/วัน  งานด่วยหน่อยทำได้ถึง 10,000 ตัวต่อวัน เหมาะไปขายส่ง ได้อีกทีนึงเลยทีเดียว และที่สำคัญ ถูกชัวร์ ติดต่อ 084-415-6616














การพิมพ์ Silk Screen

หลัก การพิมพ์ "ซิลค์สกรีน" มีหลักการง่าย ๆ คือ การปาดหมึกพิมพ์ ผ่านผ้าสกรีน ที่ยึดบนกรอบสื่เหลี่ยม ให้ลงไปติดกับวัสดุที่จะพิมพ์ หากต้องการให้หมึกผ่านผ้าสกรีนออกมาเป็นลวดลายใด ๆ ก็ทำให้รูผ้าเปิดหรือปิด ในส่วนที่ต้องการให้หมึกผ่านออกตามลวดลายนั้น ๆ
การพิมพ์ระบบนี้สามารถ ใช้พิมพ์ลงบนวัตถุ ได้แทบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นวัสดุแบน กลม เหลี่ยม หรือรูปทรงแปลก ๆ ทั้งหลาย การพิมพ์ระบบนี้ใช้การ ปาดหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนลงไปติด บนวัสดุ ปริมาณ ของหมึกพิมพ์จึงผ่านลงไปเกาะยึด บนวัสดุที่พิมพ์ได้มากและทึบกว่าการพิมพ์ระบบอื่น ๆ จึงทำให้ภาพพิมพ์แลดูสดสวยและคงทนผ้าซิลค์สกรีน

ผ้าซิลค์สกรีน คือ ผ้าที่ทอขึ้นเป็นพิเศษ ให้มีขนาดของรูผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เล็ก ๆ ขนาดเท่ากันทุกรู รายละเอียดเกี่ยวกับผ้าสกรีน มีดังนี้คือ
1 ชนิดของเส้นใย มี 3 แบบ คือไนลอน โพลีเอสเตอร์ เส้นใยโลหะ
2 ลักษณะของเส้นใย มีอยู่ 2 แบบคือ แบบเส้นเดี่ยว(Mono Filament)และ แบบเส้นควบ หรือหลายเส้น (Multi Filament)
3 ขนาดของเส้นใย หมายถึง ความหนา ของผ้า มีขนาดดังนี้คือ
S = Small เป็นผ้าชนิดบาง
M = Medium เป็นผ้าชนิดปานกลาง
= Thick เป็นผ้าชนิดหนา
HD = Heavy Duty ผ้าหน้าชนิดที่ต้อง การให้มีความทนทานสูง
4 ขนาดของรูผ้า หรือความห่าง ระหว่าง เส้นใย บอกขนาดเป็นนัมเบอร์ เช่น ผ้าซิลค์เบอร์ 77, 80,90, 100, 120, 150, 200 ตัวเลขนัมเบอร์ นี้มาจาก จำนวนเส้นด้าย/ซ.ม. หรือ นิ้ว ซึ่งส่วน ใหญ่ที่ใช้กัน จะเป็นระบบเมตริค (ซ.ม.) เบอร์ ของผ้าซิลค์ยิ่งสูงขึ้น ขนาดของรูผ้าก็จะเล็กลง ซึ่งผ้าซิลค์มีอยู่หลายสิบเบอร์ให้เลือกตามความเหมาะสมของแบบที่จะพิมพ์ และวัสดุที่ใช้พิมพ์ซึ่งมี การดูดซึมของหมึกที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เบอร์ ผ้าสกรีนให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่จะพิมพ์ คือ
4.1 การพิมพ์ผ้า ใช้ประมาณ เบอร์ 18 - 70 เป็นผ้า Screen ที่มีขนาดรูของผ้าใหญ่ เพื่อให้หมึกลงได้มาก ส่วนใหญ่ในแบบหรือภาพที่มีเส้นใหญ่มีการดูดซึมของหมึกมาก
4.2 พิมพ์กระดาษ, ไม้, โปสเตอร์ ใช้ผ้าประมาณ เบอร์ 90 - 120 รูของผ้าปานกลาง ใช้ในการพิมพ์ งานระดับธรรมดาจนถึงลายเส้นเล็ก
4.3 พิมพ์สติกเกอร์ ป้ายฉลาก, ภาชนะพลาสติก ใช้ผ้าเบอร์ 130 - 200 เป็นผ้าที่มีขนาดรูผ้าละเอียดมาก ใช้ในการ พิมพ์งานลายเส้นเล็กและคมมาก ๆ
ผ้า สกรีนที่บอกรายละเอียดว่า T90 NYMO หมายถึง ผ้าเบอร์ 90 แบบหนา (T = Thick) เป็นผ้าชนิดไนลอน (NY = Nylon) ทอแบบเส้นเดี่ยว (MO = Mono) ผ้าสกรีน เบอร์ 150 S POMO จึงหมายถึง ผ้าเบอร์ 150 โพลีเอสเตอร์แบบบาง และทอแบบ เส้นเดี่ยว

วิธีการทำแม่พิมพ์ซิลค์สกรีน
การทำแม่พิมพ์ สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมกับงาน ต้นฉบับปริมาณ คุณภาพ และงบประมาณ
1 วิธีตัดกระดาษ ใช้กระดาษหรือวัสดุอื่นที่มีลักษณะเป็น แผ่นแบน และ บางเช่นเดียวกับกระดาษ ตัด หรือเจาะรูกระดาษให้เป็นช่อง หรือลวดลาย ตามที่ต้องการ แล้วนำไปติดลงบนผ้าสกรีนด้านที่จะกดลงทับกระดาษพิมพ์ วิธีการติด อาจใช้การปาดสี พิมพ์ติด การติดกาว หรือใช้เทปกาวก็ได้ เท่านี้ก็จะได้แม่พิมพ์ที่พร้อมที่จะใช้พิมพ์ วิธีนี้เหมาะกับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียด และต้นฉบับเป็นลายเส้นขนาดใหญ่ เช่น ตัวเลข พิมพ์เบอร์เสื้อกีฬา
2 วิธีใช้สี, แลคเกอร์,กาว ใช้สี, แลคเกอร์ หรือกาวทาบนผ้าสกรีนมีเทคนิคการทำง่าย ๆ คือ ใช้กาวแลคเกอร์ หรือสีทาระบายลงบนผ้าสกรีนที่ขึงไว้บนกรอบแล้ว โดยทาตามแบบหรือลวดลายที่ได้เตรียมไว้ให้บางส่วนทึบบางส่วนทะลุเป็นช่องตาม ลวดลาย เพื่อให้สีผ่านได้ในขั้นตอนการพิมพ์ วิธีนี้อาจไม่ทากาว หรือสีโดยตรงแต่ใช้วิธีตัดกระดาษให้เป็นลวดลายตามต้องการแล้ววางกระดาษติดบน กรอบสกรีนด้านใน แล้วใช้สีหรือกาวปาดทับลง แล้วจึงเอากระดาษออกแม่พิมพ์จะมีรอยทะลุตรงส่วนที่มีกระดาษวางอยู่ก่อนวิธี นี้ไม่ดีนัก ได้ลวดลายหยาบ ๆเท่านั้น
3 วิธีใช้ฟิล์มเขียว ฟิล์มเขียว มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ของโพลีไวนิล (Polyvinyl Acitate) เคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติคใสสามารถลอกให้หลุดออกจากกันได้ วิธีทำคือ ตัดแผ่นฟิล์ม ให้มีขนาดโตกว่าต้นแบบพอสมควรแล้ววางฟิล์มทับลงกับต้นแบบ โดยหงายด้านที่เป็นฟิล์มขึ้น จากนั้นใช้คัตเตอร์ปลายแหลม หรือเข็มหรือคัทเตอร์ ชนิดที่ทำขึ้นมาสำหรับการใช้กับงานนี้โดยเฉพาะ กรีดลงบนฟิล์ม ตามลวดลายของต้นฉบับโดยจะต้องกรีดเพียงเบา ๆ พอให้ฟิล์มที่เคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติคขาดเท่านั้น หลังจากกรีดจนเสร็จทุกส่วนแล้ว นำแผ่นฟิล์มไปติดกับกรอบผ้าสกรีนวิธีติดทำได้โดยวางแผ่นฟิล์มลงบนกระจกเรียบ หงายด้านฟิล์มขึ้น แล้ววางกรอบผ้าสกรีน กดทับลงไปให้แน่นจากนั้นใช้สำลีชุบทินเนอร์ให้ชุ่มพอควร ลูบฟิล์มผ่านผ้าสกรีนให้ทั่ว ทินเนอร์จะต้องใช้พอให้ชื้น อย่าให้เปียกโชกเพราะจะทำให้ฟิล์มละลาย แต่ถ้าทินเนอร์น้อยไปฟิล์มก็จะไม่ติดผ้า การสังเกตว่าฟิล์มติดหรือไม่ให้ดูสีฟิล์มจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น แสดงว่า ฟิล์มได้รับทินเนอร์เพียงพอแล้ว ปล่อยไว้ประมาณ 2 - 4 นาที เพื่อให้ฟิล์มแห้งสนิท สังเกตได้จากสีที่จางลงเท่ากับสี ก่อนที่จะเปียกทินเนอร์ จากนั้น ค่อย ๆ ลอกแผ่นพลาสติคที่รองด้านหลังออก หากมี ส่วนใดของฟิล์มหลุดออก ก็ให้กดลงแล้วชุบทินเนอร์ซ้ำอีกครั้งหนึ่งด้วย แม่แบบที่ทำด้วยฟิล์มเขียวมีคุณภาพดีพอสมควร แต่ลวดลายที่จะทำแม่พิมพ์วิธีนี้จะได้เพียง หยาบ ๆ เท่านั้น เพราะจะต้องใช้ฝีมือ หรือความสามารถในการกรีดฟิล์มด้วยมือ เช่น ตัวอักษร หรือตัวเลขขนาดใหญ่ สีที่ใช้พิมพ์ จะใช้ได้เฉพาะสีเชื้อน้ำเท่านั้น ถ้าใช้สีเชื้อน้ำมันจะทำให้แผ่นฟิล์มละลาย การล้างแม่แบบล้างโดยใช้ทินเนอร์เช็ด
4 วิธีใช้ฟิล์มน้ำ ฟิล์มน้ำ หรือฟิล์ม Autocut มีลักษณะคล้าย กับฟิล์มเขียว แต่โปร่งใส เนื้อฟิล์ม และแผ่นรองรับ ไม่หดหรือขยายตัวง่าย ๆ ถูกน้ำจะละลาย ดังนั้นจึงติดกับกรอบผ้ากรีน ด้วยการใช้น้ำเป็นตัวทำให้ติด วิธีทำแม่พิมพ์ มีวิธีการเช่นเดียวกับวิธีใช้ฟิล์มเขียว เพียงแต่เปลี่ยน จากทินเนอร์เป็นน้ำเท่านั้น
วิธีพิมพ์ฟิล์มน้ำ ใช้พิมพ์ได้กับหมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน และหมึกพิมพ์เชื้อพลาสติก เท่านั้น สีพิมพ์ผ้าจะใช้ไม่ได้ ในกรณีที่ต้องการพิมพ์ด้วยหมึกเชื้อน้ำไห้ใช้วิธี ฟิล์มเขียว การล้างเมื่อต้องการเปลี่ยนแบบใหม่ให้ล้างฟิล์มน้ำออกจากผ้าสกรีนโดยใช้น้ำ หรือ น้ำอุ่น
เหมาะสำหรับงานที่มีลายเส้นใหญ่ หรืองานที่คัดลอกด้วยมือได้ เหมาะสำหรับกรอบสกรีน ที่มี ขนาดใหญ่ ซึ่งการทำแม่พิมพ์แบบวิธีอื่นไม่สามารถทำงานได้สะดวก ในกรณีลายเส้นเล็ก ต้องใช้วิธีกาวอัด หรือฟิล์มถ่าย
5 การทำแม่พิมพ์ด้วยวิธีฟิล์มม่วง
ฟิล์ม ม่วง เป็นฟิล์มที่มีความไวแสง ใช้ทำแม่ พิมพ์ Silk screen ร่วมกับกาวอัด ให้รายละเอียด และพิมพ์ได้คมชัดกว่าการใช้กาวอัดเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับ

การพิมพ์ หมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน มีวิธีการทำดังนี้คือ
1 ตัดฟิล์มม่วง ให้มีขนาดใหญ่กว่าแบบที่จะถ่ายพอประมาณ แล้วนำไปวาง บนกระจกเรียบหงายด้านฟิล์มขึ้น (ด้านผิวด้าน)
2 วางกรอบผ้าสกรีนทับแผ่นฟิล์ม จากนั้นใช้กาวอัดที่ผสมน้ำยาไวแสงแล้ว ปาดผ่านผ้าสกรีนลง ไปรีดทับกับฟิล์ม
3 นำไปทำให้แห้งในที่มืด เมื่อแห้งแล้วให้ ลอกพลาสติคด้านหลังฟิล์มออก
4 นำกรอบผ้าสกรีน ที่เคลือบกาวอัดติดฟิล์ม และแห้งแล้วนั้น ไปถ่ายแสง เช่นเดียวกับวิธีกาวอัด แต่จะต้องเพิ่มแสงขึ้น ประมาณ 30 - 40 % ของ การถ่ายเฉพาะกาวอัด
6 การทำแม่พิมพ์ด้วยกาวอัด เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นแม่พิมพ์ที่พิมพ์งานได้คุณภาพดี ทั้งลวดลายหยาบและละเอียด ทำได้ง่าย พิมพ์ได้ทั้งสีเชื้อน้ำและสีเชื้อน้ำมัน
กาวอัด เป็นสารเคมีที่เมื่อผสมด้วยน้ำยาไวแสง แล้วนำไปปาดบนกรอบสกรีนที่ขึงผ้า นำไปเป่าให้แห้ง เมื่อแห้งแล้ว ส่วนใดที่ถูกแสงจะทำปฏิกิริยากับแสงจับตัวแข็ง และส่วนที่ไม่ถูกแสงจะอ่อนตัว เมื่อนำไปล้างในน้ำจะละลายตัวออก กาวอัดมีใช้กันอยู่ 3 แบบคือ กาวอัดสีฟ้าและกาวอัดสีชมพู และกาวอัดสีม่วง
การ ใช้งาน ใช้กาวอัดสีชมพู 5 ส่วน ผสมกับน้ำยาไวแสง 1 ส่วนโดยน้ำหนัก ส่วนกาวอัดสีฟ้าและสีม่วงให้ใช้กาวอัด 10 ส่วน ต่อน้ำยาไวแสง 1 ส่วน ควรผสมแต่พอใช้ ที่เหลือใช้ให้เก็บไว้ในที่มืดและเย็น

การทำแม่พิมพ์วิธีกาวอัด มีวิธีการ ขั้นตอน ดังนี้
1 ผสมกาวอัด กับน้ำยาไวแสงตามxxxส่วนของกาวอัดแต่ละชนิด คนให้เข้ากันอย่างดี วางทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้ฟองอากาศหมดไป
2 เทกาวอัดที่ผสมแล้ว ลงบนกรอบสกรีนพอประมาณ ใช้ยาวปาด หรืออาจใช้ไม้บรรทัดปาดกาวอัดให้เคลือบผ้าสกรีนให้เรียบทั้งสองหน้า
3 นำกรอบสกรีนที่ปาดกาวอัดแล้ว เข้าห้องมืด ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมืดสนิทก็ใช้ได้ เป่าด้วย เครื่องเป่าลมอุ่น ให้แห้ง
4 เมื่อแบบแห้งสนิทแล้ว นำแบบนั้นไปถ่ายอาจถ่ายด้วยแสงแดด ในเวลาที่แดดจัด จะใช้ 30 วินาที ถึง 1 นาทีเท่านั้น
5 นำไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3 - 5 นาที ฉีดน้ำเป็นฝอยล้างบริเวณที่ถ่ายแบบ กาวอัดส่วนที่ถูกแสงจะติดล้างไม่ออก กาวอัดส่วนที่ไม่ถูก แสงเนื่องจากต้นแบบส่วนที่เป็นสีดำบังเอาไว้ จะถูกน้ำล้างออก
6 นำไปเป่าให้แห้ง เตรียมการพิมพ์ต่อไป
การ ทำแม่พิมพ์วิธีใช้กาวอัด สามารถทำแม่พิมพ์ที่มีลวดลายได้ ละเอียดพอสมควร ใช้พิมพ์ได้ทั้งหมึกเชื้อน้ำและหมึกเชื้อน้ำมัน แต่การพิมพ์ด้วยหมึกเชื้อน้ำ แม่พิมพ์จะชำรุดเร็วขึ้น ซึ่งแก้ไขได้ โดยเคลือบแม่พิมพ์สกรีนด้วยน้ำยา แพ็ทลี่ (PATLY) เสียก่อน และควรใช้กาวอัดเป็นตัวอุดรูรั่วก่อนเคลือบ

วิธีการพิมพ์ซิลค์สกรีน
มี วิธีการพิมพ์ได้ทั้งแบบการพิมพ์ด้วยมือ และ การพิมพ์ด้วยเครื่อง โดยทั่วไปนิยมการพิมพ์ด้วยมือ สำหรับการพิมพ์ในปริมาณไม่มากนัก การพิมพ์ด้วยเครื่อง สามารถพิมพ์สอดสีได้ประณีต สวยงามยิ่ง เพราะน้ำหนักของการปาดหมึกพิมพ์ สามารถปรับตั้ง และควบคุมได้ตลอดการพิมพ์ ซึ่งการพิมพ์ด้วยมือทำ ได้ยาก เทคนิคของการพิมพ์ จะต้องอาศัยการฝึกทักษะปฏิบัติการพิมพ์จริงจึงจะสามารถพิมพ์ได้ดี
การ พิมพ์โดยทั่วไป นิยมนำกรอบสกรีนที่ถ่ายแบบเสร็จแล้วไปติดกับโต๊ะพิมพ์ให้สามารถเปิดขึ้นลง ได้ ทำฉากที่โต๊ะพิมพ์เพื่อใส่ชิ้นงานให้ได้ตรงตำแหน่งเดิมที่ต้องการ ฉีดสเปรย์กาวเหนียวที่โต๊ะพิมพ์ ใส่หมึกพิมพ์ใส่ชิ้นงาน แล้วเริ่มพิมพ์ เทคนิคใน การพิมพ์โดยละเอียด ต้องอาศัยการฝึกฝนจึงจะทำ ได้ดี อาจสอบถามจากผู้รู้ เพราะการพิมพ์ผ้า กระดาษ นามบัตรตัวนูน สติกเกอร์วงจรไฟฟ้า รูปลอก กำมะหยี่ ฯลฯ ซึ่งต่างก็มีเทคนิคที่แตกต่างกันไป

หมึกพิมพ์ซิลค์สกรีน
หมึกพิมพ์ ในระบบการพิมพ์แบบซิลค์สกรีนแตกต่างจากหมึกพิมพ์ในระบบการพิมพ์ชนิดอื่น ๆ เพราะ ต้องการความข้น และความละเอียดของเนื้อหมึกสูง เพื่อผลทางการพิมพ์ที่คมชัด และคงทนถาวร ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1 หมึกพิมพ์เชื้อน้ำ คือหมึกที่ผสมและล้างด้วยน้ำเหมาะสำหรับใช้พิมพ์ผ้าทุกชนิด
2 หมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน คือ หมึกที่ผสมและล้าง ด้วยน้ำมัน มีทั้งชนิดแห้งเร็วและแห้งช้า เหมาะสำหรับใช้พิมพ์กระดาษ ไม้ เหล็ก แก้ว ผ้า
3 หมึกพิมพ์เชื้อพลาสติก คือ หมึกที่ใช้น้ำมัน ผสมหรือล้างสำหรับสีพลาสติกโดยเฉพาะ เป็นสีแห้งเร็ว เหมาะสำหรับใช้พิมพ์พลาสติกทุกชนิด ซึ่ง หมึกพิมพ์เชื้อพลาสติกนี้ ยังแบ่งแยกออกไปอีกหลายชนิด ตามชนิดของพลาสติกที่จะพิมพ์ เนื่องจากพลาสติกมีหลายชนิด ในการเลือกใช้หมึกพิมพ์ให้ถูกต้อง กับวัสดุที่จะพิมพ์นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงประเภทชนิด สี การดูดซึม ลักษณะการนำไปใช้งานของวัสดุนั้นๆ ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะเลือกใช้หมึกพิมพ์ได้ถูกต้อง
ที่มาจาก เว็ป thawatchai.com